หน้าเว็บ

LECTURE

 กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล (Information Architecture)
        ในกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ที่กำลังจะได้ศึกษาต่อไปนี้ได้อาศัยหลักการจัดระบบโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Information
Architecture อยู่ในหลาย ๆ ส่วน ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นที่ได้เป็นรูปแบบโครงสร้างสุดท้าย (Final Architecture Plan) ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่สำคัญมากที่จะทำให้เว็บไซต์บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
        การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือ การพิจารณาว่าเว็บไซต์ควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง ด้วยการสร้างเป็นแผนผังโครงสร้างก่อนที่จะเริ่มลงมือพัฒนาเว็บเพจ โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายเว็บไซต์ และกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ต่อมาก็พิจารณาถึงเนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น แล้วนำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ จากนั้นก็ถึงเวลาในการออกแบบโครงสร้างข้อมูลในหน้าเว็บ ให้พร้อมที่จะนำไปออกแบบกราฟิก และหน้าตาให้สมบูรณ์ต่อไป
        การจัดทำระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ที่จะช่วยพัฒนาแบบแผนรายละเอียดข้อมูลในการออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงาน แบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บ ดังนั้นการจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์


การออกแบบเพื่อผู้ใช้
กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
        การทำเว็บไซต์จำเป็นต้องรู้กลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่จะเข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์อย่างชัดเจนเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจากเว็บไซต์
1. ข้อมูลและการใช้งานที่เป็นประโยชน์
2. การตอบสนองต่อผู้ใช้
3. ความบันเทิง
4. ของฟรี
ข้อมูลหลักที่ควรมีอยู่ในเว็บไซต์
1. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท (About the company)
2. รายละเอียดผลิตภัณฑ์ (Product information)
3. คำถามยอดนิยม (Frequently asked questions)
4. ข้อมูลในการติดต่อ (Contact information)


การออกแบบระบบเนวิเกเตอร์ที่ดี
1.   เข้าใจง่าย
2.   มีความสม่ำเสมอ
3.   มีการตอบสนองต่อผู้ใช้
4.   มีความพร้อมและเหมาะต่อการใช้งาน
5.   นำเสนอหลายทางเลือก
6.   มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา
7.   มีรูปที่สื่อความหมาย
8.   มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย
9.   มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
10.  สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้


เทคนิคการทำ SEO
           การทำ SEO หรือ Search Engine Optimizer นั้นเป็นการทำให้โครงสร้างข้อมูลภายในเว็บของเราที่บรรจุอยู่ใน HTML ของเรา และพวก URL ของเรานั้น มีความหมายและทำให้ Crawler (ซึ่งต่อไปจะขอเรียกเป็น Search Engine เพื่อให้เข้าใจตรงกัน) นั้นสามารถเข้ามาเก็บข้อมูลในเนื้อหาของเราได้ง่าย และตรงกับความต้องการให้ได้มากที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะแนะนำให้ใช้ XHTML ร่วมกับ CSS โดยที่ XHTML นั้นเป็นส่วนที่ใช้สำหรับใส่ข้อมูลและมี Tag พวก XHTML ต่าง ๆ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเนื้อหาให้น้อยที่สุด โดยมีแต่ส่วนที่กำหนดพื้นที่สำหรับแสดงผลต่าง ๆ เป็นชื่อที่สื่อความหมาย โดยใช้พวก <div> และ <span> แล้วกำหนดพื้นที่ของ Layout ด้วยชื่อที่กำหนดใน id หรือ class และโยนหน้าที่การกำหนด Engine ใช้เวลาประมวลผลต่าง ๆ ลดลงได้มากด้วย แถมลด B/W ลงไปได้เยอะมาก ๆ ในกรณีที่เว็บของเรานั้นมี Priority ในการเข้า Layout ต่าง ๆ ไปที่ CSS ทั้งหมด เพื่อลดขนาดของไฟล์ HTML ที่ตัว Search Engine จะดึงไปเพื่อทำการ Parse ข้อมูลออกมา ทำให้ Search ามา index ข้อมูลของ Search Engine สูง ๆ  
1.ใส่ Keywords หลัก ๆ ลงบน Title เพราะเป็นพื้นที่ที่ระบบ Search Engine ใช้ในการเข้ามา index ข้อมูลอันดับแรก ๆ
2. ใช้ tag Heading (พวก <h*></h*> ต่าง ๆ) ให้เป็นประโยชน์เพื่อให้ Search Engine นั้นเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ๆ ในส่วนนี้ก่อนเสมอ เพราะ Search Engine จะมองว่า Heading เป็นเหมือนหัวหลักของเนื้อหาเพื่อนำไปใช้สรุปเนื้อหาตอนค้นหาต่อไป
3. ใช้ alt, title, id, class และพวก caption ต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายข้อมูลนั้น ๆ เพราะ Search Engine ไม่เข้าในว่ารูปภาพ หรือข้อมูลพวก Binary ต่าง ๆ ว่ามันคืออะไร เช่น <img src=”dog.jpg” alt=”Dog jumping into the air” />
4. ใช้ META Tag ถึงแม้ว่า META Tag จะเป็นเทคนิคเก่า ๆ นับตั้งแต่มี WWW แต่ก็เป็นการดีที่เราควรจะมีไว้ เพราะ Search Engine ยังคงใช้ข้อมูลนี้เพื่อการจัดอับดับข้อมูลของเรา ในกรณีที่ข้อมูลในหน้านั้น ๆ มีมากเกินไป

5.ใช้ Sitemap โดยการสร้าง Sitemap นั้นมีเครืองมือให้ใช้อยู่มากมาย และยิ่งใช้พวก CMS/Blogware ต่าง ๆ พวก Drupal, Wordpress, XOOP, Joomla/Mambo, PHP-nuke ฯลฯ ก็มี module/component/plug-in เข้ามาช่วยสร้าง Sitemap ให้แทบทั้งนั้น โดยประโยชน์ของ Sitemap นั้นช่วยให้ตัว Search Engine นั้นไม่ต้องวิ่งไต่ไปตามลิงส์ต่าง ๆ ของเว็บของเราเพื่อเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด และยิ่งเว็บมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมาก ๆ ยิ่งทำให้หน้าที่อยู่ในส่วนของรากลึก ๆ ต้นไม้ที่เป็นลำดับของลิงส์นั้นเข้าถึงยาก การมี Sitemap จึงช่วยในการบ่งบอกกับ Search Engine ได้ว่าเว็บของเรามีหลายอะไรอยู่บ้าง เพื่อให้ตัว Search Engine เข้ามา Index ข้อมูลได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น

6.ทำ URL Friendly หรือ Rewrite URL การทำ URL Friendly นั้นช่วยให้ Search Engine เข้าใจ URL ของเราและทำให้การเก็บ URL และแสดงผล URL เพื่อลิงส์กลับมาหน้าต่าง ๆ ของเว็บเรานั้นทำได้ง่ายมากขึ้น